พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์.jpg

พระบรมนามาภิไธยพ่อขุนบางกลางหาว (เจ้าเมืองบางยาง)
พระปรมาภิไธยกมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์
ราชวงศ์ราชวงศ์พระร่วง
ครองราชย์พ.ศ. 1792 - ปีใดไม่ปรากฏ[1]
รัชกาล30 ปี
รัชกาลก่อนขอมสบาดโขลญลำพง
รัชกาลถัดไปพ่อขุนบานเมือง
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระมเหสีนางเสือง[2]
พระราชบุตรมีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม "พ่อขุนบางกลางหาว" เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ตามประวัติศาสตร์ไทย ทรงครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 1792 ถึงปีใดไม่ทราบ[1]

พระนาม[แก้]

  1. พ่อขุนบางกลางหาว
  2. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
  3. บางกลางหาว
  4. พระร่วง
  5. พระอินทราชา
  6. อรุณราช
  7. ไสยรังคราช หรือไสยรังคราชา
  8. ไสยนรงคราช
  9. รังคราช หรือสุรังคราช
  10. พระร่วง หรือโรจนราช
สำหรับพระนามแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาวนั้น เป็นพระนามดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองบางยาง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระนามสมัยเป็นเจ้าเมืองบางยางโดยแท้จริง
พระนามที่สองนั้น เป็นพระนามที่ใช้กันทางราชการ เป็นพระนามที่เชื่อกันว่าทรงใช้เมื่อราชาภิเษกแล้ว พระนาม "ศรีอินทราทิตย์" มีบ่งอยู่ในศิลาจารึก ส่วนคำนำหน้าพระนาม "ศรีอินทราทิตย์" มีคำเรียกแตกต่างกันไปว่า ขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง บางกลางหาวศรีอินทราทิตย์บ้าง และบางทีก็เรียกพระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์

พระราชกรณียกิจ[แก้]

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์.jpgพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
Seal of Siamese Podduang 6directionDharmaChakra.pngพ่อขุนบานเมือง
Ramkhamhaeng the Great.jpgพ่อขุนรามคำแหง
Seal of Siamese Podduang 6directionDharmaChakra.pngพระยาเลอไทย
Seal of Siamese Podduang 6directionDharmaChakra.pngพระยางั่วนำถุม
Mahathammaracha I.JPGพระมหาธรรมราชาที่ ๑
Seal of Siamese Podduang 6directionDharmaChakra.pngพระมหาธรรมราชาที่ ๒
Seal of Siamese Podduang 6directionDharmaChakra.pngพระมหาธรรมราชาที่ ๓
Seal of Siamese Podduang 6directionDharmaChakra.pngพระมหาธรรมราชาที่ ๔
    
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมมือกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม รวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถุมอยู่
ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ช้างทรงพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า "หนีญญ่ายพ่ายจแจ๋น"(หนี-ยอ-ย่าย-พ่าย-จอ-แจ้น) ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก มีพระปรีชาสามารถ ได้ชนช้างชนะขุนสามชน ภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่ารามคำแหง
ในยุคประวัติศาสตร์ชาตินิยม มีคติหนึ่งที่เชื่อกันว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำชาวสยามต่อสู้กับอิทธิพลขอมในสุวรรณภูมิ ทรงได้ชัยชนะและประกาศอิสรภาพตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ภายหลัง คติดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นปฐมกษัตริย์ อีกทั้งยังมีพ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว

พระราชวงศ์[แก้]

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์ ได้แก่
  1. พระราชโอรสองค์โต (ไม่ปรากฏนาม) เสียชีวิตตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
  2. พ่อขุนบานเมือง
  3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พระนามขณะที่ยังทรงพระเยาว์ไม่ปรากฏ)
  4. พระธิดา (ไม่ปรากฏนาม)
  5. พระธิดา (ไม่ปรากฏนาม)
แม้ไม่ทราบแน่นอนว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ในปีใด แต่ภายหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนบานเมือง พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ได้สืบราชสมบัติแทน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านตาติด จังหวัดอุบลราชธานี