รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช



พระราชประวัติรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(ประสูติ พ.ศ. 2279 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352)มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
ทรงพระนามเต็มว่า" พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนชาติอาชาวศรัย สมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "
               ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทรศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด 5 คน คือ
               คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )
               คนที่ 2 เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 )
               คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์)
               คนที่ 4 เป็นชายชื่อ "ด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )
               คนที่ 5 เป็นชายชื่อ "บุญมา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช )
               เมื่อเจริญวัยได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพร
               พระชนมายุ 21 พรรษา ออกบวชที่วัดมหาทลาย แล้วกลับมาเป็นมหาดเล็กหลวงในแผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร
               พระชนมายุ 25 พรรษา ได้รับตัวแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร ประจําเมืองราชบุรีในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ได้วิวาห์กับธิดานาค ธิดาของท่านเศรษฐีทองกับส้ม

              พระชนมายุ 32 พรรษา ในระหว่างที่รับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เลื่อนตําแหน่งดังนี้
              พระชนมายุ 33 พรรษา พ.ศ. 2312 ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
              พระชนมายุ 34 พรรษา พ.ศ. 2313 ได้เลื่อนเป็นพระยายมราชที่สมุหนายกเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
              พระชนมายุ 35 พรรษา พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เมื่อคราวเป็นแม่ทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2
              พระชนมายุ 41 พรรษา พ.ศ. 2321 ได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อคราวเป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองลาวตะวันออก
              พ.ศ. 2323 เป็นครั้งสุดท้ายที่ไปปราบเขมร ขณะเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดจลาจลจึงเสด็จยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงปราบปรามเสี้ยนหนามแผ่นดินเสร็จแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปราบดาภิเษก แล้วได้มีพระราชดํารัสให้ขุดเอาหีบพระบรมศพของพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นตั้ง ณ เมรุวัดบางยี่เรือพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุลแล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพ เสร็จแล้วให้มีการมหรสพ
           พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และปราบดาภิเษกเมื่อวันที่ 13 มิถุนายนพ.ศ. 2325 ( วันพฤหัสบดี ขึ้น 4 คํ่า ปีขาล ) ขณะเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติทรงมีพระชนมายุได้ 45 ปี ทรงโปรดให้สถาปนาพระอนุชา ( เจ้าพระยาสุรสีห์ ) เป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท พระนัดดา ( พระยาสุริยอภัย ) เป็นกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังหลัง ถัดจากนั้นได้ประกอบกิจการที่สําคัญคือ

            สร้างกรุงเทพมหานคร
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ( วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 คํ่าปีขาล ) คือ ทําพิธียกเขาเอก " เสาหลักเมือง" กรุงเทพมหานครได้ลงมือก่อสร้างอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2326 ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีชื่อเต็มว่า " กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์ "

            สาเหตุที่ย้ายราชธานีเพราะ
           1. พระราชวังเดิมที่กรุงธนบุรี มีวัดขนาบทั้งสองข้างไม่เหมาะแก่การที่จะขยายพระราชวังออกไปได้อีก
           2. ที่ตั้งพระราชวังเดิมอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นที่ที่นํ้าเซาะ
           3. กรุงเทพมหานครอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา เป็นพื้นที่กว้างขวางเป็นชัยภูมิที่เหมาะแก่การป้องกันตัวเองจากข้าศึก

              การสร้างพระบรมมหาราชวัง
           พ.ศ. 2326 สร้างพระนคร ได้สร้างพระราชมณเฑียรสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล
           พ.ศ. 2327 สร้างพระมหาปราสาท สร้างวัดพระแก้ว ( และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากพระราชวังเดิมกรุงธนบุรีมาสถิตอยู่ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง พร้อมกับได้อัญเชิญพระบรมรูปของสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทองกษัตริย์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยามาสร้างเป็นพระรูปหุ้มเงินปิดทองประดิษฐานไว้ในพระวิหารทรงพระราชทานนามวิหารแห่งนี้ว่า "หอพระเทพบิดร" ปฎิสังขรณ์วัดสลัก
            พ.ศ. 2328 หล่อปืนใหญ่ขึ้น 7 กระบอก สร้างวังให้พวกเจ้าเขมรที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขุดคลองมหานาค ขุดคูเมือง สร้างป้อมเชิงเทินขึ้นมากมาย
              ฟื้นฟูพระราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
              การปกครอง หลังจากปราบดาภิเษกแล้ว ทรงให้มีการตั้งข้าราชการที่มีความดีความชอบในราชการให้มียศฐาบรรดาศักดิ์ใหญ่น้อยตามฐานะทรงตั้งราชการวังหลวงขึ้น
             ด้านกฎหมาย ได้ทรงชําระกฎหมาย เรียกว่ากฎหมายตรา 3 ดวง ( คือ ตราราชสีห์คชสีห์ บัวแก้ว ) เพื่อสําหรับวินิจฉัยอรรถคดี และบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย
             การค้าขายกับต่างประเทศ ผลประโยชน์ของประเทศไทยที่ได้รับขณะนั้นได้จากภาษี
อากร เช่น อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย อากรขนอนตลาด ภาษีค่านํ้าเก็บตามเครื่องมือ
อีกทั้งส่วนสินค้าต่างๆ ที่ให้ผลประโยชน์มาก ก็คือการค้าสําเภาอันสืบเนื่องมากแต่สมัย
กรุงธนบุรี การค้ากับต่างประเทศได้แก่ประเทศจีน ลังกา อินเดีย มลายู สิงคโปร์ มาเก๊า
             การสงคราม การสงครามกับพม่าในสมัยพระเจ้าปดุง โดยพม่าได้แบ่งกองทัพเข้าโจมตีไทยหลายทาง คือ เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ด่านพระเจดีย์สามองค์ ชุมพร ไชยา และเมืองถลาง สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงปรึกษาการต่อสู้กองทัพพม่า แล้วโปรดฯ ให้แบ่งกองทัพเป็น 4 ทัพคือ
 กองทัพที่ 1 กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์เป็นแม่ทัพไปขัดตาทัพที่เมืองนครสวรรค์
 กองทัพที่ 2 กรมพระราชบวรสถานมงคล ไปตั้งรับที่เมืองกาญจนบุรี
 กองทัพที่ 3 เจ้าพระยาธรรมากับเจ้าพระยายมราชคอยคุมทางลัาเลียงติดต่อกองทัพ
 กองทัพที่ 4 เป็นกองทัพหลวง คอยช่วยศึกถ้าหากด้านใดเพลี้ยงพลํ้าก็จะยกไปช่วย

             สงครามกับพม่า ( พม่าล้อมเมืองถลาง พ.ศ. 2328 )
             กองทัพพม่ายกมาตีตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งโดยทางเรือแล้วจึงข้ามไปตีเมืองถลางขณะนั้น เจ้าเมืองถลางถึงแก่กรรม คุณหญิงจันทร์ (ภรรยาเจ้าเมือง) กับนางมุก (น้องสาวคุณหญิงจันทร์) เกณฑ์ไพร่พลชาวเมืองช่วยกันป้องกันเมืองถลาง ทัพพม่าไม่สามารถจะเอาเมืองถลาง สู้รบกันประมาณเดือนเศษพม่าขาดเสบียงอาหาร จึงเลิกทัพกลับไปเมื่อข่าวทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงแต่งตั้งให้คุณหญิงจันทร์เป็นท้าวเทพกษัตรีส่วนนางมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

             สงครามกับพม่า ( ศึกท่าดินแดง พ.ศ. 2329 )
             สงครามครั้งนี้ ต่อเนื่องมาจากสงครามครั้งที่พม่าล้อมเมืองถลาง พระเจ้าปดุงยกกองทัพเข้ามาทางด่วนเจดีย์สามองค์ด้านเดียว เนื่องจากพระเจ้าปดุงรู้สึกว่าพระองค์ดําเนินการแผนผิด เพราะตั้งแต่ทําสงครามมาไม่เคยแพ้ใครมาก่อนจึงพยายามที่จะตีไทยให้ได้จึงรวบรวมกําลังผู้คนตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ และให้พระมหาอุปราชคุมคน 5 หมื่นคนตั้งมั่นอยู่ที่ตําบลสามสบ ท่าดินแดง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯเป็นแม่ทัพหน้า และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นจอมทัพหลวงทัพทั้งสองเข้าตีพร้อมกัน พม่าทิ้งค่ายแตกหนีทุกค่าย กองทัพไทยไล่ฆ่าฟันและจับเชลยได้เป็นอันมาก ได้ทั้งช้าง ม้า เสบียงอาหาร และอาวุธ ตลอดจนปืนใหญ่
            
             สงครามกับพม่า ( ลําปางและป่าซาง พ.ศ. 2330 )
             การที่พม่าแพ้ไทย ประเทศราชของพม่าก็เริ่มทําตัวกระด้างกระเดื่อง พม่าต้องใช้เวลาปราบ จากนั้นพม่าก็เลยมาตีเมืองป่าซางและลําปาง ซึ่งเป็นเขตไทยขณะที่ตีอยู่นั้น ข่าวทราบถึงกรุงเทพฯ ซึ่งกําลังเตรียมทัพจะไปตีเมืองทวายต้องเปลี่ยนแผน รัชกาลที่ 1โปรดให้กรมพระราชวังบวรฯ ไปช่วยเมืองทั้งสองโดยให้คนที่อยู่ในตัวเมืองตีด้านในทหารที่ไปช่วยรบตีด้านนอก เสด็จจากสงครามครั้งนี้กรมพระราชวังบวรฯได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์

            ไทยตีเมืองทวาย พ.ศ. 2330
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงตั้งพระทัยจะตีเมืองทวายโปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท คุมพล 3 หมื่น ยกไปทางเหนือส่วนพระองค์เอง คุมพล 2 หมื่น โดยกระบวนเรือทางลํานํ้าไทรโยคขึ้นยกที่ท่าตะกั่วข้ามทิวเขาบรรทัด ซึ่งมีความลําบาก หนทางกันดาร ทําให้คนในทัพเหนื่อยล้าอิดโรยจึงตีเมืองไม่ได้ ต้องเสด็จยกทัพกลับ ภายหลังต่อมาอีก 4 ปี เมืองทวายเมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด ได้มาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย

             การรบที่เมืองทวาย พ.ศ. 2336
             รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชดําริจะรบกับพม่าให้ได้ ได้ตั้งพระทัยใช้เมืองทวายเป็นฐานทัพและรวบรวมเสบียงอาหาร พระองค์ทรงยกทัพทางบก และโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯบัญชาการทัพเรือแต่ว่าไปถึงเมืองทวายเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริด ชาวเมืองกลับไปเข้าข้างพม่า ขณะนั้นพม่าก็ยกกองทัพมาตีทวายกลับคืนได้เกิดกบฎขึ้นในเมืองมะริดและเมืองทวาย กองทัพไทยจําต้องทําสงครามทั้งสองด้าน ไทยขาดแคลนเสบียงอาหาร เพราะอาศัยเมืองทั้งสามไม่ได้จึงต้องยกทัพกลับไป

             พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2340
             พม่ายกทัพมาคราวนี้ 7 ทัพ โดยมุ่งหมายจะตีลานนาไทยอีก รัชกาลที่ 1 โปรดให้กรมพระวังบวรฯ ทรงประชวรเป็นโรคนิ่ว จึงต้องหยุดประทับอยู่ที่นั่น ทรงโปรดให้กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระยาวังหลังติดตามเสด็จขึ้นไปช่วยทรงบัญชาการรบจนมีชัยชนะทรงขับไล่พม่าออกจากแคว้นลานนาจนหมด
          
             ศาสนา
             พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้ซ่อมแซมปฎิสังขรณ์วัดวาอารามและได้ทรงยกสถาปนาตําแหน่งพระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่ ทําสังคายนาสอบสวนพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง

            การติดต่อกับต่างประเทศเพื่อนบ้านการติดต่อกับญวน พ.ศ. 2325
            กษัตริย์ประเทศญวนขณะนั้นก็คือ องเชียงสือ ได้ลี้ภัยจากพวกกบฎแห่งเมืองไกเชิงได้พามารดาเข้ามาอยู่ในเมืองไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอุปถัมภ์ไว้ และทรงช่วยเหลือเสบียงอาหารและสนับสนุนพร้อมทั้งอาวุธยุทธภัณฑ์ต่อมาองค์เชียงสือได้เข้าไปปราบปรามกู้บ้านเมืองได้และตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "พระเจ้ายาลอง"
             
 การติดต่อกับจีน ติดต่อในฐานะการค้า การติดต่อกับเขมร
             นักองเองมกุฎราชกุมารแห่งประเทศเขมรยังทรงอ่อนวัย พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงแต่งตั้งให้พระยายมราช ( แบน ) เป็นผู้สําเร็จราชการประเทศเขมรทรงชุบเลี้ยงอย่างพระราชบุตรบุญธรรมจนเวลาผ่านไปได้ 12 ปี จึงได้กลับไปครองประเทศเขมร ทรงพระนามว่า " สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี " และโปรดให้พระยายมราช เป็นพระยาอภัยภูเบศร์ครองเมืองพระตะบองขึ้นกับไทย ผู้นี้เป็นต้นตระกูล
" อภัยวงศ์ "
         
 การติดต่อกับประเทศตะวันตก ประเทศโปรตุเกส
           เป็นชาติแรกที่มาติดต่อกับไทยเมื่อ พ.ศ. 2329 องตนวีเสนได้อัญเชิญพระราชสาส์นเข้ามาเจริญพระราชไมตรี รัชกาลที่ 1 โปรดให้จัดการต้อนรับอย่างสมเกียรติ
           
ประเทศอังกฤษ
             มีอิทธิพลทางใต้ของไทยและฟรานซิสไลท์ คนอังกฤษได้เพียรขอเฝ้ารัชกาลที่ 1 ทูลเกล้าถวายดาบที่ประดับพลอยกับปืนด้ามเงินกระบอกหนึ่ง ต่อมาทรงแต่งตั้งให้เป็นพระยาราชกัปตัน
            
พระราชนิพนธ์ งานพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1
 - กลอนนิราศท่าดินแดง
 - กลอนบทละครเรื่องอิเหนา
 - กลอนบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ต่อจากสมัยกรุงธนบุรี
 - กลอนบทละครเรื่อง อุณรุธ
 - กฎหมายตราสามดวง
           
เสด็จสวรรคต
             พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครองราชสมบัติได้ 27ปีเศษ ตั้งแต่ทรงมีพระชนมายุได้ 47 พรรษา ได้เสด็จสู่สวรรคตเมื่อวันที่7 กันยายน พ.ศ. 2352 ขณะนั้นทรงพระชนมายุได้ 74 พรรษา พระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 42 พระองค์
            พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑

             เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็นพฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพ.ศ. ๒๓๒๘

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านตาติด จังหวัดอุบลราชธานี